บัสบาร์ คือ
BUSBAR ทางไฟฟ้า ใช้อธิบาย “จุดรวมของวงจรจำนวนมาก” โดยจุดรวมของวงจรนั้น วงจรไฟฟ้าจ่ายไฟฟ้าเข้าวงจรน้อย และ วงจรไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าออกจำนวนมาก
เราจะเห็นเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ใน สถานีไฟฟ้า ตู้ MDB หรือ แผงสวิตช์โดยส่วนมาก เพราะจะต้องรับ และทำการจ่าย กระแสไฟฟ้าปริมาณมาก ทำให้เกิด แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Force) ในการเลือกใช้ BUSBAR ก็ต้องสามารถทนแรงเหล่านี้ได้ วัสดุที่นำมาใช้ผลิต ต้องมีคุณสมบัติ ทางไฟฟ้า และทางกลที่เหมาะสม โดยพิจารณาเบื้องต้นจาก คุณสมบัติดังนี้
โลหะที่จะนำมาใช้ป็นบัสบาร์ ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีความต้านทานต่ำ
2. ความแข็งแรงทางกลสูงในด้านแรงดึง แรงอัดและแรงฉีก
3. ความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง
4. ความต้านทานของ Surface Film ต่ำ
5. การตัดต่อหรือดัด ทำได้สะดวก
6. ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
2. ความแข็งแรงทางกลสูงในด้านแรงดึง แรงอัดและแรงฉีก
3. ความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง
4. ความต้านทานของ Surface Film ต่ำ
5. การตัดต่อหรือดัด ทำได้สะดวก
6. ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
จากตารางเบื้องต้น แสดงคุณสมบัติเพื่อพิจารณาในการเลือกวัสดุมาใช้ผลิต BUSBAR
วิธีการใช้งานและติดตั้งของบัสบาร์
1) บาร์ (busbar) ส่วนใหญ่เป็นบัสทองแดง (cubus) แต่ละบัสจะทำเป็นโค๊ดสี “เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็ค หรือการซ่อมแซมระบบ” ตามรายละเอียด ดังนี้
สีแดง แทนเฟส R (Red)
สีเหลือง แทนเฟส S (Yellow)
สีน้ำเงิน แทนเฟส T (Blue)
2) การต่อที่บัสบาร์ทองแดง สามารถทำได้โดยการใช้น็อต ( Bolting ) การจับยึด ( Clamping ) การใช้หมุด ( Riveting ) การบัดกรี ( Soldering ) หรือการเชื่อม ( Welding ) แล้วแต่ความเหมาะสมและความถนัดของ ช่าง
3) การต่อจุดต่อด้วยการเชื่อม บัสบาร์ทองแดง มีข้อดี คือ กระแสไฟฟ้าไหลสม่ำเสมอ ความสามารถในการนำกระแสไม่เปลี่ยน แปลง เนื่องจากจุดต่อเป็นตัวนำทองแดง
4) การใช้น็อต เป็นวิธีที่กระชับและเชื่อถือได้ แต่มีข้อเสียคือต้องเจาะรูลงไปในบาร์เพื่อใส่น็อต จะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในเส้นทางการนำกระแส จุดต่อแบบนี้จะทำให้เกิดแรงที่จุดสัมผัสไม่สม่ำเสมอ มากกว่าการใช้แผ่นจับยึด 5) การใช้ตัวจับยึด สามารถทำได้ง่ายโดยพื้นที่หน้าตัดไม่เสียหาย มวลที่เพิ่มขึ้นจะช่วยในการระบายความร้อนที่จุดต่อ และการออกแบบตัวจับยึดที่ดีจะทำให้เกิดแรงแบบสม่ำเสมอที่จุดสัมผัส ข้อดีอื่นๆ คือง่ายต่อการติดตั้งส่วนข้อเสียคือราคาแพง
4) การใช้น็อต เป็นวิธีที่กระชับและเชื่อถือได้ แต่มีข้อเสียคือต้องเจาะรูลงไปในบาร์เพื่อใส่น็อต จะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในเส้นทางการนำกระแส จุดต่อแบบนี้จะทำให้เกิดแรงที่จุดสัมผัสไม่สม่ำเสมอ มากกว่าการใช้แผ่นจับยึด 5) การใช้ตัวจับยึด สามารถทำได้ง่ายโดยพื้นที่หน้าตัดไม่เสียหาย มวลที่เพิ่มขึ้นจะช่วยในการระบายความร้อนที่จุดต่อ และการออกแบบตัวจับยึดที่ดีจะทำให้เกิดแรงแบบสม่ำเสมอที่จุดสัมผัส ข้อดีอื่นๆ คือง่ายต่อการติดตั้งส่วนข้อเสียคือราคาแพง
6) การใช้หมุดยึด มีประสิทธิภาพสูง แต่มีข้อเสียคือถอดหรือทำให้แน่นได้ยาก และการติดตั้งทำไม่สะดวก
7) การบัดกรีมีใช้น้อยมากสำหรับบัสบาร์ นอกจากต้องเสริมด้วยน็อตหรือตัวจับยึด เนื่องจากความร้อนจากการ ลัดวงจรจะทำให้เกิดสภาพทางไฟฟ้าและทางกลไม่ดี
สีของ BUSBAR ในตู้ MDB
หลักคำนวณขนาด BUSBAR
1) พิจารณาอุณหภูมิสภาวะแวดล้อมในการทำงาน
2) กำหนดค่าความหนาแน่น ของกระแส ที่ 8 Amp/mm2
3) หาขนาดมาตรฐานผลิต ใกล้เคียงโดยประมาณ
4) คำนวณอุณหภูมิความร้อน ที่เกิดจากกระแส
5) คำนวณอุณหภูมิความร้อน ที่สูญเสียจากงาน
6) คำนวณค่าข้อ 4 เปรียบเทียบข้อ 5
6.1) ข้อ 4 >5 เพิ่มขนาด Busbar แล้วคำนวณใหม่
6.2) คำนวณจนค่า ข้อ 4 ≤ 5 จึงถือว่าใช้ได้
ข้อดีข้อเสียบัสบาร์ คืออะไรครับ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบhttps://www.schneider-electric.co.th/th/faqs/FA337053/
ตอบลบ